เทคนิคใหม่ ดัดแปลงพันธุกรรมหนอนไหม ช่วยให้เส้นใยแข็งแรงขึ้น

ดัดแปลงพันธุกรรมหนอนไหม

นักวิทยาศาสตร์จีน ประสบความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรมของหนอนไหม โดยการใส่ยีนส์ของแมงมุมเข้าไป ทำให้เส้นใยไหมที่ได้มีความแข็งแรง ทนมานมากกว่าไหมทั่วไป โดยเหนียวมากกว่าเชือก Kevla ถึง 6 เท่า

ทำไมถึงต้องดัดแปลงพันธุกรรม ? นั่นเพราะพวกเขาต้องการทำเส้นใยที่มีความแข็งแรงมากขึ้น เพราะการเลี้ยงแมงมุมเพื่อเอาเส้นใยนั้นทำได้ยาก แมงมุมคือสัตว์นักล่า อยู่แบบโดดเดี่ยว การเลี้ยงแมงมุม 100 ตัว อาจเหลือเพียงไม่กี่ตัวเมื่อเวลาผ่านไป

แตกต่างจากหนอนไหมที่สร้างรังอยู่แบบสงบเสงี่ยม แต่ข้อเสียคือเส้นใยไหมจะมีความบอบบางมากกว่า ฉะนั้นการนำยีนส์ของแมงมุมไปใส่ใน DNA ของไหมได้สำเร็จ จะทำให้เส้นใยไหมมีความเหนียวและแข็งมากขึ้น มีความเหนียวสูงกว่า Kevlar ถึง 6 เท่า ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำเกราะกันกระสุน และยังมีความยืดหยุ่นสูงอีกด้วย

ต้องยอมรับว่า นี่ข่าวที่น่าตื่นเต้นที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีไบโอนิคในการผลิตภัณฑ์ที่มาจากวัสดุธรรมชาติ และมีความแข็งแรงทนทาน มากกว่าวัสดุทางเคมีในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า

ที่มาข้อมูล

newatlas