เพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจเพื่อรองรับอนาคตอย่างยั่งยืน

ให้องค์กรทุกแห่งต้องแสวงหาวิธีการที่จะใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความคล่องตัวและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างลงตัว  สภาพตลาดที่เปลี่ยนไปทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ และประเมินรูปแบบทางธุรกิจและรูปแบบการทำงานเสียใหม่ องค์กรหลายแห่งหันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป และนำโซลูชั่นอัจฉริยะต่าง ๆ มาใช้เพิ่มความคล่องตัวในระยะยาวให้กับธุรกิจมากขึ้น

นวัตกรรมดิจิทัล คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจก้าวทันกระแสความเปลี่ยนแปลงและก้าวล้ำนำหน้าเหนือคู่แข่ง  ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นขององค์กรจึงต้องทุ่มเททำงานอย่างสุดกำลังด้วยทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล ทั้งยังต้องทำงานให้สำเร็จลุล่วงให้ได้อย่างรวดเร็วภายในกรอบเวลาที่สั้นกว่าเดิม โดยยังรักษาคุณภาพและต้องควบคุมค่าใช้จ่ายโดยรวมไม่ให้สูงเกินงบที่ตั้งไว้ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างมากเลยทีเดียว

เผชิญปัญหารอบด้าน

รายงาน Infobrief ฉบับล่าสุดของไอดีซี (IDC) ระบุว่า ภายในปีพ.ศ. 2567 บริษัทในกลุ่ม G2000 จะเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง  สิ่งนี้ได้รับแรงหนุนจากความเป็นจริงใหม่ ๆ ของตลาด ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นและความท้าทายจากดิจิทัล ดิสรัปชั่น ซึ่งมีความหมายมากกว่าการเร่งวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ซอฟต์แวร์ยังจำเป็นต้องนำเสนอคุณค่าทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้อีกด้วย

องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงติดขัดในการนำกระบวนการและแนวทางการทำงานของ DevOps ที่มีความคล่องตัวจากการทำงานร่วมกันของนักพัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่ายปฏิบัติงานมาใช้ในวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ ดังจะเห็นได้จาก 58% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าความปลอดภัยและการบูรณาการการพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าด้วยกันเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด

บทความโดย เอกรัฐ งานดี ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเวียดนาม เอาท์ซิสเต็มส์

องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ ๆ โดยจะต้องปรับตัวอย่างฉับไวตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ทั้งยังต้องว่าจ้างและฝึกอบรมพนักงานอย่างรวดเร็ว และปรับปรุงระบบให้ทันสมัยเพื่อรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน  สำหรับบริษัทส่วนใหญ่แล้ว ระบบรุ่นเก่าที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานจะยังคงถูกใช้งานต่อไป โดยบริษัทเหล่านี้จะต้องสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ที่ทำงานหรือรันอยู่บนระบบรุ่นเก่าที่ว่านี้  นอกเหนือไปจากความกดดันที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นที่จะต้องก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงแล้ว ในส่วนของลูกค้ายังมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับสินค้าและบริการที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น (Personalised) ส่งผลให้องค์กรจำเป็นต้องขยายและปรับเปลี่ยนระบบที่มีอยู่ภายในเวลาอันรวดเร็วในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ฉีกกฎเกณฑ์แบบเดิมๆ

ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นที่ต้องใช้แพลตฟอร์ม visual development และ model-based เพื่อให้สามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน  องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาใช้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแบบ low-code กันมากขึ้น และจากการสำรวจพบว่า 47% ของผู้บริหารองค์กรเอเชียแปซิฟิกพึ่งพาเครื่องมือพัฒนาแบบที่ใช้โมเดลหลากหลายชนิด โดย 39% ใช้เครื่องมือที่เป็น visual development และ 29% มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือแบบ low-code

แพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วโดยมีการเข้ารหัสแบบ hand-coding เพียงเล็กน้อย การใช้การสร้างแบบจำลองภาพในอินเทอร์เฟซแบบกราฟิกเพื่อประกอบและกำหนดค่าแอปพลิเคชั่นช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ตามลำดับขนาดได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความสามารถในการปรับขนาดความสม่ำเสมอความปลอดภัยและที่สำคัญที่สุดคือความคล่องตัว – แนวทางใหม่เหล่านี้ช่วยให้นักพัฒนาสามารถแก้ปัญหาความท้าทายขององค์กรได้
ด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อนในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ที่ไม่ใช่นักพัฒนาสามารถสร้างต้นแบบและร่วมมือกับไอทีเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน

แพลตฟอร์ม visual development ต่าง ๆ ยังเป็นตัวสร้างสะพานเชื่อมระหว่างแอปพลิเคชั่นเดิมและแอปพลิเคชั่นสมัยใหม่ หรือในบางกรณีจะแทนที่ระบบเดิมทั้งหมด เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ใช้กลไกการลากและวางที่ใช้งานง่ายจึงมีขั้นตอนการพัฒนาที่ง่ายขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ปลายทางมีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่พวกเขาจะใช้มากขึ้น

เดินหน้าเต็มกำลัง

เมื่อถูกถามถึงเหตุผลในการปรับใช้เครื่องมือแบบ low-code และเครื่องมือแบบ visual อื่น ๆ  46% ขององค์กรบอกว่าเครื่องมือเหล่านี้คืออนาคต โดย 43% ยอมรับว่าเครื่องมือดังกล่าวช่วยลดความซับซ้อนของประสบการณ์ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และ 42% เชื่อว่าเครื่องมือที่ว่านี้รองรับการใช้งานหลากหลายและสะดวกง่ายดายสำหรับนักพัฒนา  อย่างไรก็ดี ลำพังเพียงแค่การใช้เครื่องมือแบบ low-code ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้องค์กรมีความคล่องตัวอย่างแท้จริง  องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มที่เพิ่มความรวดเร็วให้กับทุกขั้นตอนของกระบวนการ Dev-Sec-Ops ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พัฒนา วิเคราะห์สถาปัตยกรรม ทดสอบ ติดตั้งใช้งาน ไปจนถึงขั้นตอนการตรวจสอบติดตามผล  และแม้กระทั่งหลังจากนั้นก็ยังจำเป็นต้องปรับแต่งแพลตฟอร์ม เพื่อที่ว่าหลังจากที่ติดตั้งแอปพลิเคชั่นแล้ว ก็จะสามารถทำการปรับเปลี่ยนได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ไม่ว่าการปรับเปลี่ยนที่ว่านี้จะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ กฎระเบียบของภาครัฐ สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป หรือวิกฤตการณ์อย่างเช่นกรณีการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก

เมื่อมองไปที่ปี 2565 เป็นต้นไป 52% ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อว่าการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ (cloud-native) จะกลายเป็นสิ่งสำคัญ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวอย่างแท้จริง องค์กรต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า:

  • ความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญ: ในขณะที่วงจรการพัฒนาสั้นลงเรื่อย ๆ องค์กรต่าง ๆ จึงต้อง
    บูรณาการระบบรักษาความปลอดภัยเข้ากับขั้นตอนการวางแผน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและก้าวนำหน้าการเปลี่ยนแปลง
  • นวัตกรรมต้องมาก่อน: ประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับลูกค้าจะช่วยผลักดันการสร้างตลาดและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ๆ นอกจากนี้ จะต้องรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและนำเอามาใช้เป็นข้อมูลในการคิดค้นไอเดียบนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ
  • วางแผนสำหรับการว่าจ้างบุคลากร: เริ่มต้นวางแผนเรื่องการสรรหาบุคลากรแต่เนิ่น ๆ สร้างแอปที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้ทำงานร่วมกับฝ่ายไอทีอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนา

ตัวอย่างขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ก็คือ Schneider Electric บริษัทข้ามชาติของยุโรป
ที่นำเสนอดิจิทัลโซลูชั่นด้านพลังงานและระบบอัตโนมัติสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน  เพื่อรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง Schneider จำเป็นที่จะต้องเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทางธุรกิจ รวมทั้งปรับปรุงขีดความสามารถและการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการพัฒนา การปรับใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ

การติดตั้งใช้งานแพลตฟอร์ม low-code ของเอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ช่วยให้ Schneider Electric ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไอที ด้วยการจัดตั้ง “Low-Code Digital Factory” เพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นได้ถึง 2 เท่า สามารถผลิตแอปใหม่ ๆ ได้มากกว่า 60 แอป โดยใช้เวลาเพียง 40% ของระยะเวลาที่เคยใช้ก่อนหน้านี้

ถึงเวลาแล้วสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ปี 2563 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ และผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีควรจะตรวจสอบทบทวนสถานะของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation)  แน่นอนว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทุกองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นโรงงานผลิตนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อให้แข่งขันได้  ไม่ว่าองค์กรจะต้องการปรับปรุงระบบรุ่นเก่าให้ทันสมัย เพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการต่าง ๆ หรือตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปด้วยการนำเสนอบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดให้รวดเร็วกว่าเดิม แพลตฟอร์ม visual development คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม