“โดรน” จากอาวุธสังหารของทหาร สู่ ”ของเล่น” อันอเนกประสงค์

มารู้จักกับประวัติและความหมายของ “โดรน” กันคร่าวๆ และ คำว่า  “แก็ดเจ็ตแห่งปี 2014”  อย่างโดรนกัน ถึงเรื่องราวอันน่าสนใจ และ ประโยชน์ที่เป็นมากกว่าของเล่น

drone-wars 2

ก่อนอื่น เดี๋ยวขอขยายความคำว่า “โดรน (Drone)” ซักนิดหนึ่งก่อนนะครับ เนื่องจากมันแปลได้หลายความหมายมาก กล่าวคือ โดรน หรือ หุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือที่เรามักจะรู้จักมันส่วนใหญ่ว่า  “อากาศยานไร้คนขับ(UAV)” ไม่ก็หุ่นตัวเล็กๆที่บินไปมาเหมือนในหนัง Sci-Fi (ที่บางตัวติดอาวุธ ไล่ยิงตูดพระเอกอย่างเมามัน) ใช่แล้ว เรามักจะรู้กันส่วนใหญ่ว่ามันคือ ”วัตถุบินได้อัตโนมัติ” นั้นเอง โอเค ต่อไปเราลองมาดูความหมายที่แท้จริงของมันกันครับ

Drone War

“โดรน” เดิมทีแล้ว มันคือหุ่นยนต์อัตโนมัติชนิดหนึ่งที่ใช้ในทางทหารมาก่อน มีหลายแบบเช่น หุ่นเครื่องบิน หุ่นรถ ยันหุ่นดำน้ำ จะเรียกว่า “หุ่นสังหาร” ก็ยังได้ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในตอนนั้นโดรนก็มีบทบาทแล้ว คือทำหน้าที่คอยสำรวจพื้นที่แวดล้อมของข้าศึก โดยมีการติดกล้องความละเอียดสูงในสมัยนั้น ไปสอดแนมพื้นที่เป้าหมายเพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์กัน หรือติดอาวุธสงครามอย่างจรวด ไม่ก็ขีปนาวุธถล่มข้าศึกจากระยะไกลซะเลย ข้อดีของมันคือ มันไม่ต้องใช้คนจริงไปเสี่ยงขับเข้าแดนศัตรู แต่ใช้การบังคับจากระยะไกลเลย (ข้อเสียคือแพง) จนเป็นเหตุให้โดรนถูกเรียกว่าอาวุธสังหาร (ที่ไร้หัวใจ) มาจนถึงทุกวันนี้

Interstate_TDR-1_on_display_at_Naval_Aviation_Museum

TDR-1 “assault drone” โดรนสอดแนมที่เคยใช้ในสมัยสงครามโลก ของอเมริกา
(ภาพจาก Wikimedia)

ทีนี้เราก็ได้รู้จักภูมิเก่าของ โดรน กันแล้ว จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช้วิทยาการใหม่อะไรเลย เพราะมันมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว หรือปี 1915 นู้น ตั้งแต่สมัยปู่เรายังขี่มอเตอร์ไซค์ยกล้อได้เลยมั่ง ต่อไปเราลองมารู้จักโดรนในสมัยนี้กัน

dji-phantom-800-1

(ภาพจาก Engadget)

จากรูปคงคุ้นๆกันแน่นอนว่า “นี้มันโดรนหนิ” ครับ ไม่ผิดหรอกครับ มันคือโดรนนั้นแหล่ะ แต่แค่ครึ่งเดียวนะ เพราะมันมีอีกชื่อเรียกว่า “มัลติโรเตอร์” หรือ “มัลติคอปเตอร์” นั้นเอง (สังเกตุจากจำนวนมอเตอร์ที่ใช้) แล้วทำไมเจ้านี้ยังมีชื่อว่าโดรนติดอยู่ ? ก็เพราะมันมีความสามารถในตั้งค่าบินอัตโนมัติตามที่เรากำหนดได้ นอกจากการบังคับวิทยุแล้ว เรายังบังคับผ่านคอมฯ หรือ แม้กระทั้งสมาร์ทโฟนก็ยังได้อีก และตอนนี้ มันก็ไม่ใช่ “อาวุธสังหารของทหาร” อีกต่อไป แต่มันกลายเป็น “ของเล่น” ที่ไร้พิษสงปราศอาวุธไปแล้ว การที่มันมาถึงมือเราได้  ก็เพราะเมื่อเวลาผ่านไป บ้านเมืองสงบสุขขึ้น ก็ถึงเวลาที่จะเอาเทคโนโลยีทางการทหารมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคนทั่วไป เช่นเดียวกันกับ “อินเทอร์เน็ต” นั้นเอง

แล้วโดรนเอาไว้ทำอะไร ? ถ้าจะเรียกของเล่นก็กระไรอยู่ จริง ๆ เรียกว่า “เครื่องมือทำมาหากินชนิดหนึ่ง” ดีกว่า ทุกคนคงเคยเห็นภาพวิดีโอมุมสูงสวยๆจากในหนัง ภาพนิ่งมุมสูงในอินเตอร์เน็ต หรือภาพเหตุการณ์มุมสูงจากสำนักข่าวต่างๆ ซึ่ง ถ้าหากใครจำภาพผู้ชุมนุมจากมุมสูงที่เคยโด่งดังเมื่อปึ 2013 ได้ นั้นแหล่ะครับ มันคือประโยชน์ของเจ้านี้เอง (บางที่ เอามาใช้สำหรับส่งของระยะไกลก็มี เช่น Google Amazon เป็นต้น)

301b350a-fe1c-4650-9674-619479f64735-2060x1363

ตัวอย่างภาพถ่ายจากโดรน (เครดิตภาพ theguardian.com)

นอกจากเอามาทำงานแล้ว เรายังเอามาบังคับเล่นเพื่อความเพลิดเพลินก็ยังได้ อารมณ์ไม่ต่างจาก เครื่องบินบังคับเลย (แถมบินง่ายกว่าด้วย) แต่เดิมแล้ว เจ้านี้มีราคาที่แพงเอาเรื่องสุดๆ ในตอนนั้นมักจะใช้กันในหมู่กองถ่าย หรือไม่ก็สำนักข่าวมากกว่า แต่เดี๋ยวนี้มันเริ่มมีราคาถูกลงขึ้นมาบ้างแล้ว จนคนทั่วไปสามารถครอบครองได้ บวกกับผู้ผลิตให้ความสนใจมากขึ้นอีกด้วย โดรนจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้นจนทุกวันนี้เอง (จริงๆมันก็มีมานานแล้ว แต่เพิ่งมาบูมเอาตอนนี้ เพราะราคาที่ถูกลง) ตอนนี้ก็มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ที่มีการเอาโดรนหรือมัลติโรเตอร์ มาแต่งตามสไตล์ของตัวเองมากกมาย (อารมณ์เดียวกับรถ “TAMIYA”) หากใครหากสนใจอยากศึกษา หรืออยากหากลุ่มเล่นด้วย ลองไปที่เว็บ rcthai นี้ดูครับ ที่นี้มีคนเก่ง ๆ พร้อมให้คำแนะนำเสมอ

drone-toy 1

สุดท้ายนี้คิดว่า หลายคนน่าจะรู้จักกับโดรนกันมากขึ้นแล้ว เอาเข้าจริงๆ โดรนมันยังแปลได้อีกหลายความหมาย ในที่นี้จะเน้นไปในเรื่องของ มัลติโรเตอร์ ซะมากกว่า ซึ่งตอนนี้เรียกเป็นวงการๆหนึ่งได้เลย เพราะมีบางบริษัทเริ่มเล็งเห็นถึงความต้องการของเจ้านี้ขึ้นแล้ว จึงได้มีการผลิตโดรนทั้งแบบสำเร็จรูปเช่น Phantom กับ Spreading Wings ของทาง DJI เป็นต้น มีข้อดีคือไม่ต้องเซ็ตอะไรให้ยุ่งยากก็เล่นได้เลย หรือ แบบ Custom คือ มัลติโรเตอร์ ที่เราต้องหาชิ้นส่วนประกอบเอง  ต้องใช้ความรู้พอสมควรเลย เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเอาการ (แต่สั่งร้านทำได้) ข้อดีคือ ได้มัลติโรเตอร์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร (ข้อเสียก็สลับกับข้อดีทั้งสอง)

สำหรับครั้งนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ หากมีโอกาสผมจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับ โดรน หรือ มัลติโรเตอร์ กันอีกครั้ง เนื่องจากมันมีรายละเอียดค่อนข้างมากทีเดียว เดี๋ยวจะยาวซะก่อน ก่อนไปขอทิ้งท้ายไว้ว่า “แม้ตอนนี้จะยังไม่มีกฎหมายควบคุมอย่างเป็นทางการ สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ แต่อย่างน้อยก็หวังว่า ทางผู้ใช้นั้นจะมีจริยธรรมพอที่จะไม่เอาไปใช้ในทางมิชอบ” นะครับ

E-volo_erstflug

(ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามอยู่ที่นั้น ?……………..ภาพจาก E-volo)

1 COMMENT

  1. ข้อมูลน่าสนใจมากค่ะ อยากขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ ขอช่องทางติดต่อได้ไหมคะ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here