ธุรกิจจะเดินหน้าอย่างไร ในวันที่โลกให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

ความยั่งยืน

ความยั่งยืนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ผู้บริโภค หน่วยงานกำกับดูแล และสังคมโดยรวมให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น สิ่งนี้ส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน

Techhub มีโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณเฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท Paessler เกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนกับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างมาก

 

ความยั่งยืนกับบทบาทสำคัญของธุรกิจไทย

กลยุทธ์ความยั่งยืน เป็นสิ่งที่กำหนดลำดับความสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด หรือสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและระดับโลก การดำเนินกลยุทธ์ความยั่งยืนที่เหมาะสมสามารถผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG : Bio Cirgular Green Economy) ส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กร ก่อให้เกิดผลในเชิงบวกกับชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ ในขณะที่ความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจที่ส่งผลอันตราย กำลังได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากทั้งรัฐบาลและประชาชน สิ่งนี้ทำให้ความยั่งยืนเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับธุรกิจ และเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จะต้องบรรลุผล นอกเหนือจากเป้าหมายทางธุรกิจของทุกองค์กร ในงานวิจัยล่าสุดของ Paessler ระบุว่า ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในสามเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับธุรกิจในอาเซียนถึงร้อยละ 61 ขณะที่ธุรกิจในประเทศไทยกว่าร้อยละ 48 มีแผนงานและได้ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนแล้ว

ความท้าทายที่ผู้บริหารต้องเผชิญ

การเริ่ทต้นจากแนวคิดการดำเนินการด้าน ESG (Environment, Social, Governence) เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนอาจเป็นความท้าทายที่ซับซ้อนสำหรับธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ และยังต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคและได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และพนักงานทั้งหมดในองค์กร ซึ่งร้อยละ 58 ขององค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย มองว่าการขาดความรู้ความเข้าใจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตามที่ระบุไว้ในรายงานล่าสุด

นอกจากนี้ ร้อยละ 53 ของธุรกิจที่สำรวจในประเทศไทยมีความสามารถและความรู้ความชำนาญภายในองค์กรในระดับปานกลางถึงต่ำในเรื่องแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน ร้อยละ 45 ระบุถึงการขาดความชัดเจนจากหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงาน ร้อยละ 48 กังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการปรับดำเนินการด้านความยั่งยืน และ ร้อยละ 40 ระบุถึงการสร้างสมดุลระหว่างการวัดผลในด้าน ESG กับเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจ ข้อกังวลเหล่านี้ ทำให้การนำแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนมาใช้เป็นปัญหาสำหรับธุรกิจในประเทศไทย

กลยุทธ์ด้านไอทีควรจะรวมเข้าไปส่วนหนึ่งของแผนความยั่งยืน

การสร้างกลยุทธ์ด้านไอทีที่แข็งแกร่ง กลยุทธ์การทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน และการพัฒนากรอบการทำงานด้านความยั่งยืน เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกัน ผลการวิจัยของ Paessler แสดงให้เห็นว่า 53% ของธุรกิจ ในประเทศไทย มีความคิดเห็นว่า การทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันมีความสำคัญสูงสุดในปี 2566 และดาต้าเซ็นเตอร์ กำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญต่อภารกิจของสภาพแวดล้อมด้านไอทีทุกประเภท และมีความสำคัญต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน ต้นทุนหลักของการดำเนินงานของดาต้าเซ็นเตอร์ มากกว่าร้อยละ 40 คือ การใช้พลังงาน และเมื่อมีผู้ใช้งานผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น ความต้องการพลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นด้วย ในสภาพแวดล้อมที่สิ้นเปลืองเช่นนี้ การสร้างกลยุทธ์ด้านไอทีที่ยั่งยืน และสนับสนุนด้วยแกนหลักในการมอนิเตอระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพถือเป็นสิ่งสำคัญ

ความสัมพันธ์ระหว่าง การติดตามตรวจสอบ กลยุทธ์ด้านไอที และความยั่งยืน

องค์กรธุรกิจต้องตระหนักถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และการติดตามตรวจสอบระบบไอที ในขณะที่องค์กรต่างเร่งทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นทางออกที่ดีสำหรับองค์กร การปรับปรุงการใช้พลังงานและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการมอนิเตอร์ด้านไอทีในเทคโนโลยีการดำเนินงาน และโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี และการตรวจสอบที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการทรัพยากรทั่วทั้งศูนย์ข้อมูล

ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ สำหรับงานด้านความยั่งยืน ได้แก่ ตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง การลดลงของการใช้พลังงาน และ ต้นทุนรวมในการติดตั้งระบบที่ลดลง (TCO: Total cost of ownership) และผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับสังคม

การมอนิเตอร์ระบบแบบครบวงจร จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนความยั่งยืน

การมอนิเตอร์ระบบมีบทบาทสำคัญในการลดการใช้ทรัพยากร การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านไอทีได้ ไม่ว่าจะเป็น OT (Operation Technology) และโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) รวมถึงการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุปกรณ์ต่างๆ การมอนิเตอร์ อุปกรณ์ ระบบ แอปพลิเคชัน การรับส่งข้อมูล และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดแบบเรียลไทม์ ภายในโครงสร้างพื้นฐานไอที จะช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าส่วนประกอบทั้งหมดของธุรกิจที่ยั่งยืน ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการใช้พลังงาน สามารถบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์การทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันที่ครอบคลุมได้ โดยแนวทางนี้ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานในระยะยาว และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินการด้าน ESG ที่ไม่กระทบต่อค่าใช้จ่าย และเป็นผลดีต่องบดุลของบริษัท

นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่อการลดการใช้พลังงาน และการใช้เครื่องมือการตรวจสอบที่เหมาะสมจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของธุรกิจ และการตรวจสอบด้านไอทีที่ซับซ้อนสามารถช่วยให้ธุรกิจ วิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงานเฉพาะอุปกรณ์โดยละเอียด การระบุเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้พลังงานสูง และการแจ้งเตือนการใช้พลังงานแบบเรียลไทม์

ทั้งหมดนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้อย่างมาก ซึ่งเป็นประโยชน์จากทั้งมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมและการเงิน เมื่อองค์กรต่างๆ เสริมกลยุทธ์ด้านไอทีด้วยกรอบการมอนิเตอร์ระบบไอทีแบบเรียลไทม์ที่ครอบคลุม ซึ่งครอบคลุมอุปกรณ์ ระบบ แอปพลิเคชัน การรับส่งข้อมูล และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดภายในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที จะช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่า องค์ประกอบทั้งหมดของธุรกิจที่ยั่งยืนในอุดมคติตั้งแต่การผลิต กระบวนการไปสู่การใช้พลังงาน สามารถบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์การทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันที่ครอบคลุมได้