จะเป็นอย่างไร หากไร้ปะการัง พบกับหุ่นยนต์สำรวจปะการัง ที่คอยอุ้มชูระบบนิเวศ

หุ่นยนต์สำรวจปะการัง

ปะการังนับเป็นบ้านสำคัญของหลายล้านชีวิตที่คอยอุ้มชูระบบนิเวศทางทะเล จะเป็นอย่างไรหากแนวปะการังพวกนี้ถูกทำลาย พบกับ หุ่นยนต์สำรวจปะการัง สุดน่ารัก ที่รบกวนระบบนิเวศน้อยที่สุด

จะเป็นอย่างไรหากไม่มีปะการัง

แนวปะการังบนโลกเกิดขึ้นมานานหลายล้านปีแล้ว ประมาณ 1 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลอาศัยแนวปะการังบางช่วงเวลาในการดำรงชีวิต ปลาจำนวนมากอาศัยแนวปะการังตลอดทั้งชีวิต และปลาบางชนิดใช้แนวปะการังในการอนุบาลลูกน้อย ทำให้แนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด

แต่วันนี้ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าแนวปะการังทั่วโลกรวมทั้งของไทย กำลังถูกทำลายโดยมนุษย์ที่ไปย่ำยีอย่างไร้จิตสำนึก (อ่านข่าวแนวปะการังถูกลำลายเมื่อปีที่แล้ว) ทั้งพยายามถ่ายรูป พยายามดึงมันมาเป็นของที่ระลึก โดยหารู้ไม่ว่าได้ทำลายแหล่งอาหารที่สำคัญของตัวเองไปแล้ว

ระบบนิเวศแนวปะการังต้องใช้เวลาเป็นศตวรรษๆ ในการเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ มันมีอัตราเกิดเชื่องช้าและบอบบางต่อสิ่งเร้า หากมีการรบกวน อัตราการเติบโตจะหยุดทันที แล้วเราจะทำให้อย่างไรเพื่อปกป้องระบบนิเวศที่สำคัญทางทะเลนี้

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับระบบนิเวศปะการังเพิ่มขึ้น มีการปิดพื้นที่ มีการลงโทษต่อนักท่องเที่ยวเด็ดขาด และมีการสำรวจเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาสดใสเหมือนเดิม

แต่การสำรวจโดยปกติ จำเป็นต้องอาศัยเรือ อาศัยนักประดาน้ำ อาศัยเครื่องมือที่ในการช่วยสำรวจ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี หากใบพัดเรือ หรือเครื่องมือสำรวจ ไปสร้างความเสียหายกับปะการังมากขึ้น

ทำให้วิศวกรของมหาวิทยาลัยฟลอริด้าแอตแลนติกได้คิดค้นและสร้างหุ่นยนต์สำรวจปะการังรูปร่างแมงกระพรุนออกมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจแนวปะการังที่จะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด

หุ่นยนต์สำรวจปะการัง

หุ่นยนต์สำรวจปะการังตัวนี้ ได้รับแรงบันดาลมาจากระบบชีววิทยาของแมงกระพรุน ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ ได้เหมือนกับแมงกระพรุนยังไงยังงั้น และสามารถหดตัวหรือบีบผ่านช่องแคบ ๆ ได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จนทำให้นักวิทยาศาสตร์ยังกังวลว่า มันจะเหมือนเกินไปจนกลายเป็นอาหารของเต่าหรือเปล่า (น้องเต่าชอบกินแมงกระพรุน)

การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์สำรวจปะการังตัวนี้ จะใช้ปั๊มที่มีอยู่ในตัวสูบน้ำเข้าไปในหนวด และเมื่อปั๊มดับลง น้ำจะถูกทำให้ออกมาจากหนวด เกิดเป็นแรงกระเพื่อมที่ทำให้หุ่นยนต์ลอยอยู่ในน้ำได้

ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญของของ หุ่นยนต์สำรวจปะการัง คือการสำรวจออกซิเจนและการกัดเซาะแนวปะการังในพื้นที่ ซึ่งออกแบบมาให้เหมือนสัตว์ในทะเลมากที่สุด เพื่อลดความแปลกปลอมที่อาจจะส่งผลเสียได้

ติดตามที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้ที่ ARIPFAN.COM

 

 เหมือนแค่ไหน ลองไปดูในคลิปกัน