ดีแทคเผยเส้นทางธุรกิจเข้าสู่ยุค 4G เต็มรูปแบบ โชว์วิสัยทัศน์ โฟกัสการลงทุนสร้างโครงข่ายโมบายล์อินเทอร์เน็ต ชูโมเดลบริหารงานแบบรายภูมิภาคสร้างมูลค่าตลาดทั่วประเทศ

ดีแทคมุ่งเป้าสู่วิสัยทัศน์โมบายล์อินเทอร์เน็ตเป็นบริการหลักของการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ ใช้กลยุทธ์ปฏิรูปการทำงานด้วยโมเดลการบริหารและการทำตลาดแบบรายภูมิภาค (Regional Clustering Model) ที่เน้นทำตลาดลงลึกทั่วทุกภาคของไทย และประสบความสำเร็จจนมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นในระหว่างไตรมาสแรกของปี 2558 จำนวน 419,000 เลขหมาย ทำให้ฐานลูกค้าทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 28.4 ล้านเลขหมาย

dtacGroup_8B0A9555=

ดีแทคประเมินตลาดในประเทศไทยว่า กำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของตลาดโทรคมนาคมครั้งใหญ่ โดยในเวลาอันใกล้นี้ ประเทศไทยต้องพร้อมวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาความเร็วสูง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั้งประเทศ (Internet for All) และเพื่อนำบริการดิจิทัลที่หลากหลายและซับซ้อนไปให้ถึงกลุ่มคนใช้งานใหม่ๆ จากสถิติ Thailand Social media Landscape, Marketing Oops พบว่า กลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นคนในช่วงวัย 18 – 34 ปี เป็นกลุ่มคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุด และกิจกรรมที่คนไทยชื่นชอบมากที่สุดในการใช้โซเชียลมีเดียคือ การอัพโหลดรูปภาพซึ่งมีปริมาณมากที่สุดในโลกถึง 495.5 ล้านรูปในปีที่แล้ว และ 85% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 35 ล้านราย มีพฤติกรรมชอบดูวีดีโอผ่านแอพพลิเคชั่นยูทูปและชมวีดีโอสตรีมมิ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากถึง 14.9 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็น 52% ของลูกค้าทั้งหมด แนวโน้มเหล่านี้เอื้อต่ออัตราการเจริญเติบโตในอนาคตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกันในระบบ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมทางการเงิน การธนาคาร ธุรกิจบันเทิง เป็นต้น

นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า “วาระสำคัญของประเทศไทยคือ การปลดล็อคศักยภาพ 4G อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีแทคต้องการที่จะเห็นภาครัฐเร่งวางโรดแมปคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลในอนาคตอันใกล้ให้ชัดเจน การประมูลใบอนุญาตคลื่น 1800 Mhz และคลื่น 900 Mhz ในช่วงปลายปีนี้ นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศไทยที่จะเร่งบริหารจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของชาติมาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำคัญที่สุด ซึ่งดีแทคมองไปข้างหน้าว่า การนำคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้ใช้ เช่น คลื่น 1800, 850 และ 2,600 MHz มาร่วมประมูลในอนาคต จะสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและพื้นที่การให้บริการ 4G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ  จากรายงานของ GSMA เรื่อง Building Thailand’s Digital Economy and Society 2015 ระบุว่า จะมีจำนวนผู้ใช้งาน 4G สูงถึง 13.8 ล้านคน ในปี 2562 และอัตราการเข้าถึง mobile broadband จะพุ่งสูงจาก 55% เมื่อปี 2556 ไปเป็น 133% ในปี 2563 จะช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศมากขึ้นอีก 7.3 แสนล้านบาท        และจากการคาดการณ์ของดีแทคต่ออัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจ M2M ในประเทศไทยว่า จะมีจำนวนซิมที่ connected device มากถึง 400 ล้านเครื่องเป็นอย่างน้อยในระบบเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ธุรกิจ M2M และ Internet of Things จะเป็นแกนหลักสำคัญที่จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ

commart-news

บริหารและติดตามพิกัดตำแหน่งยานพาหนะ ระบบการจัดการการส่งสินค้าหรือข้อมูล (fleet management, logistics )หรือแม้แต่กระทั่งการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับผู้บริโภคทั่วไปในวงกว้าง ได้แก่  การติดตามเด็ก และผู้สูงอายุ (child tracking, senior tracking) และเพื่อสุขภาพ

ดีแทคประกาศเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สำคัญๆในต่างจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้กลยุทธ Internet for all เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ดีแทคจึงปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่เน้นสร้างกลไกการขาย การตลาด และการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับโครงสร้างการทำงานแต่งตั้งผู้ดูแลภูมิภาคใน 5 พื้นที่ Regional Business Head (RBH)  ที่เปรียบเสมือน มินิซีอีโอ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจและการให้บริการลูกค้าทั่วประเทศ คือ

นายปภาพรต ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-กรุงเทพฯ และปริมณฑล

นายปกรณ์ มโนรมย์ภัทรสาร ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคเหนือ

นายวรวัฒน์ วงศ์สง่า ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายปัญญา เวชบรรยงค์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคใต้และตะวันตก

นายอำนาจ โกศลรอด ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคกลางและตะวันออก

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ เพื่อให้บริษัทมีความเข้าใจ และสามารถตอบสนองความต้องการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่จะเสริมความแข็งแกร่งของการให้บริการในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันไป และการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้

นายลาร์ส กล่าวว่า “แต่ละทีมงานภูมิภาคใน 5 พื้นที่ อยู่ภายใต้การดูแลของ RBH ซึ่งจะรับผิดชอบการขับเคลื่อนธุรกิจในพื้นที่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย หน่วยงานดังกล่าวจะทำงานในรูปแบบผสมผสาน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากหน่วยงานอื่นๆ ในบริษัท หัวหน้าทีมที่ดูแลทั้ง 5 พื้นที่นี้จะเป็นหนึ่งในผู้บริหารสูงสุดของดีแทค การทำงานในระดับภูมิภาคเป็นแนวทางที่เทเลนอร์นำมาใช้ในหลายประเทศทั่วโลก ดีแทคได้เริ่มปรับการทำงานในระดับภูมิภาคมาแล้ว 8 เดือน และเริ่มมีพัฒนาการในการทำความเข้าใจและทำงานในระดับภูมิภาคดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการโฟกัสพื้นที่ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งประกอบกับวงจรการทำงานที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้ดีแทคเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้ดีมากขึ้น โมเดลการทำงานในระดับภูมิภาคช่วยเสริมประสิทธิภาพและวัฒนธรรมการทำงานในดีแทคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานในระดับภูมิภาคทำให้บริษัท ต้องปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานใหม่ นอกจากผู้บริหารในระดับหัวหน้าทั้ง 5 ภาค แล้ว ยังมีการแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับโซนพื้นที่อีก 22 โซน (Zonal Business Heads)  และระดับพื้นที่ ที่เล็กลงมา อีก 95 คน (cluster business heads) เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันภายในของแต่ละทีมแต่ละพื้นที่ และยังช่วยให้ทีมลงมือปฏิบัติงานได้ตรงจุด ซึ่งหัวหน้าทีมที่ดูแลทั้ง 5 พื้นที่นี้จะรายงานผลการดำเนินงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และบริหารจัดการดูแลเยี่ยมเยือนผู้ร่วมธุรกิจ ผู้ค้าปลีกอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมวอร์รูมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แก้ปัญหาในการทำงานและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆได้อย่างรวดเร็ว วางแผนงานเป็นประจำรายวัน และรายสัปดาห์เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวและการใช้งานดาต้าของลูกค้าในแต่ละพื้นที่”

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here