MU-MIMO เร็ว แรง เพิ่มความเร็วภายในบ้าน

ตั้งแต่ต้นปี ระบบเน็ตเวิร์กภายในบ้าน ค่อนข้างจะคึกคักกันทีเดียว เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ MU-MIMO ออกมาให้เชยชมอยู่หลากหลายรุ่น โดยเฉพาะผู้ผลิตเน็ตเวิร์กใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น TP-LINK, DLink, Linksys, Zyxel, Netgear, ASUS และแบรนด์อื่น ๆ

network-4

เรามาย้อนดูความหมายของ MU-MIMO กันก่อนดีกว่าครับ เทคโนโลยี MU-MIMO (Multi-User, Multiple input and Multiple output) เป็น Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac ที่ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อความต่าง ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีเสาส่งข้อความมากกว่า 2 เสา สำหรับระบบเน็ตเวิร์กของ MU-MIMO นั้น สิ่งหนึ่งที่ควบคู่กับตัวเราเตอร์ตัวนี้ก็คือ ซีพียูที่อยู่ในนั้นด้วย เพราะต้องมีส่วนประมวลผล เพื่อรับรู้ว่าจะส่งแบบไหน รวดเร็วเพียงใด นี่คือความพิเศษของเทคโนโลยี MU-MIMO ด้วย

อีกส่วนที่สำคัญก็คือ ระบบสตรีมมิ่งที่อยู่ภายในระบบเน็ตเวิร์กของเทคโนโลยี MU-MIMO ต้องถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการใช้งานในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันการเชื่อมต่อระบบอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ได้หยุดที่สมาร์ตโฟนเครื่องเก่ง หรือคอมพ์ตัวโปรดของคุณเท่านั้น แต่ระบบนี้ยังเชื่อมต่อกับสมาร์ตทีวี เพื่อเป็นระบบสตรีมมิ่งแบบแท้จริง ดูหนัง ฟังเพลงแบบไม่กระตุกเหมือนกับเราเตอร์อื่น ๆ ที่มีการส่งสัญญาณที่ช้ากว่า

รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านเราเตอร์ตัวใหม่ของคุณได้อีกด้วย ทั้งนี้ การใช้งานต่าง ๆ ต้องถือว่าสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของคุณได้มากยิ่งขึ้น โดยในสเปกสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากถึง 25 อุปกรณ์ แต่ถ้าเป็นเราเตอร์ปกติทั่วไป ก็จะเชื่อมต่อไม่เกิน 10–15 อุปกรณ์เท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มารองรับสำหรับบ้านที่มีอุปกรณ์มากกว่าปกติอีกด้วย

เทคโนโลยีใหม่ ราคาสูง

ด้วยเทคโนโลยี MU-MIMO เป็นเทคโนโลยีความหวังใหม่ของผู้ผลิตระบบเน็ตเวิร์ก จึงทำให้การผลิตระบบเน็ตเวิร์กยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ราคาของเราเตอร์ที่มีเทคโนโลยี MU-MIMO ราคาเรียกได้ว่าแพงเป็นหลักเกือบๆ หมื่นบาท ถึงหมื่นกลางๆ เลยทีเดียว เพราะเราเตอร์ปัจจุบันแบบธรรมดา ราคาจะมีตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทถึงหลักพันบาท จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราเตอร์แบบนี้ยังมีปริมาณการใช้งานได้น้อยอยู่ แต่ต้องถือว่าดีไซน์หรือการออกแบบของเราเตอร์ที่มีเทคโนโลยี MU-MIMO ออกแบบไม่เหมือนใคร บางค่ายเล่นสีสันซะด้วย หรือบางยี่ห้อ ทำเป็นหน้าจอทัชสกรีนเพื่อการใช้งานที่สะดวกกว่าเดิม เรียกได้ว่า เทคโนโลยี MU-MIMO ได้สร้างความตื่นตัวให้กับผู้ผลิตได้แข่งขันการออกแบบไม่เหมือนใคร ๆ

Linksys EA8500 MU-MIMO เราเตอร์รองรับสตรีมมิ่ง

ต้องถือว่าเป็นเราเตอร์ MU-MIMO ไม่ใช่รุ่นใหม่ที่สุด แต่ก็ไม่เก่ามาก ตัวเราเตอร์มีซีพียูแบบ Dual Core ความเร็ว 1.4 GHz มีแรมแบบ DDR3 512MB เหมาะสำหรับคนที่ใช้งานหนัก ๆ และมีคนใช้งานได้มากมายหลายคน รองรับอุปกรณ์ได้หลายสิบเครื่อง เป็นแบบ Dual Band รองรับคลื่นความถี่ 2.4GHz ที่ความเร็ว 600Mbps และ 5GHz ที่ความเร็ว 1733Mbps มีพอร์ต USB3.0 สำหรับคนที่ต้องการต่อหนังแบบสตรีมมิ่ง และ USB 2.0 อย่างละ 1 พอร์ต รองรับระบบฮาร์ดดิสก์ทั้งในรูปแบบ FAT32, NTFS และ HSF+ ใช้แอพฯ Smart WI-FI ตรวจสอบได้ทั้ง iOS และ Android นี่คือคุณสมบัติเบื้องต้น ตอนนี้เราไปดูหน้าตาในส่วนคอนฟิกกันดีกว่า

เมื่อเชื่อมต่อเข้าสู่บราวเซอร์ โดยผ่าน 192.168.1.1 ค่าพาสส์เวิร์ดของเราเตอร์ตัวนี้ ก็คือ Admin โดยเมื่อผ่านหน้าของการเชื่อมต่อเข้าสู่ Admin เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะคอนฟิกกันเองนะครับ

pic01

หน้าตาแรกก็คือ เมื่อเชื่อมต่อเข้าสู่หน้า Admin จะมีส่วนที่เป็นเมนู และส่วนของการบอกข้อมูลของการเชื่อมต่อต่าง ๆ ทั้งระบบ Network ที่เชื่อมต่อนั้น ระบบไวร์เลสส์จะใช้รูปแบบของ 2.4GHz หรือ 5GHz กันเลย อย่างแรกที่เราน่าจะไปดูก็คือ Network Map ซึ่งหลายคนอาจจะต้องการดูว่ามีอุปกรณ์ไหนเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์กของเราบ้าง ทั้งในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน พรินเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตัว Linksys นี้จะทำกราฟิกให้เราสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ

pic02

Parental Controls บล็อกเว็บไซต์

เราสามารถบล็อกเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้เครื่องที่มาใช้งานเข้าเว็บไซต์ไหนได้ ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่สำคัญของระบบเน็ตเวิร์ก โดยคุณสามารถ Add เว็บไซต์ตามความต้องการได้ แถมยังกำหนดช่วงเวลาที่เราต้องการไม่ให้เครื่องที่มาเชื่อมต่อนั้น ๆ ใช้อินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย อีกเมนูหนึ่งที่น่าใช้งานก็คือ การใช้ USB สำหรับเชื่อมต่อผ่านเราเตอร์ของ Linksys ตัวนี้ โดยเราสามารถติดตั้ง USB ที่ต้องการจะแชร์ข้อมูล เป็นมีเดียเซ็นเตอร์หลาย ๆ เครื่องดูพร้อมกันได้ สามารถกำหนดได้ว่า USB ที่เชื่อมต่อนั้น บุคคลไหนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ บุคคลไหน สามารถอ่านหรือลบไฟล์ได้ เรียกได้ว่า ถ้ามีไฟล์อยู่ในฮาร์ดดิสก์หรือแฟลชไดรฟ์ จะแชร์ข้อมูลทั้งหนังและเพลงอยู่ภายในวงแลนได้อย่างสบาย ๆ

pic03

MU-MIMO แต่ละแบรนด์

ปัจจุบัน MU-MIMO ที่ขายในเมืองไทย ค่อนข้างมีหลายแบรนด์นะครับ ผมรวบรวมรุ่น แบรนด์ และราคาคร่าว ๆ มาให้ เผื่อมีใครสนใจอยากทำสตรีมมิ่งกันเอง ซึ่งเทคโนโลยี MU-MIMO ก็ดูน่าสนใจมากครับ

D-Link รุ่น DIR-890L – AC3200

network-1

ASUS รุ่น RT-AC87U

network-2

Linksys รุ่น EA8500

network-3

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here