SIPA จับมือ มอ.ภูเก็ต จัดการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ระดับเอเชีย

ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา SIPA หรือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมมือกับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับเอเชีย หรือ ACM-ICPC ประจำปี 2556 ในการแข่งขันครั้งนี้มีทีมนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคเอเชีย จำนวนกว่า 67 ทีม กว่า 10 ประเทศ มาร่วมทำการแข่งขัน

003

ในการแข่งขัน ACM-ICPC ประจำปี 2556 ที่ภูเก็ตครั้งนี้เป็นรอบ Reginal Contest หรือการแข่งขันระดับภูมิภาคที่ได้ทีมนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 67 ทีม ได้แก่ จีน, สิงคโปร์, อินโดนิเซีย, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ไทย, ฯลฯ เป็นต้น โดยทีมผู้เข้าแข่งขันจะแบ่งออกเป็นเป็นทีมละ 3 คน ซึ่งโจทย์ในการแข่งขันเขียนโปรแกรมจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ทีมผู้เข้าแข่งขันจำเป็นต้องคิดและเขียนอัลกอริทึมเพื่อแก้โจทย์ปัญหาจำนวน 12 ข้อภายในระยะเวลาที่กำหนด หากทีมใดสามารถทำเวลาในการแก้โจทย์ปัญหาทั้งหมดได้เร็วที่สุดทีมนั้นคือผู้ชนะ

001

ผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือทีม Armageddon จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีน

โดยทีมผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือทีม Armageddon จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีน อันดับ 2 คือทีม Long Time No See จากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ของจีนเช่นกัน และอันดับสามคือทีม bcw3Dno7122 มหาวิทยาลัยไต้หวันจากประเทศไต้หวัน ส่วนทีมจากประเทศไทยทีทำอันดับได้ดีที่สุดคือทีม Sirius จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้อันดับ 12 ด้วยการแก้โจทย์ได้ 6 ข้อ และใช้ไปทั้งหมด 696 นาที

การแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC นับเป็นรายการแข่งขันระดับโลกที่เปิดโอกาสเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านไอทีมาร่วมแสดงศักยภาพของตน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในปัจจุบันรวมไปถึงการผลักดันให้เยาวชนกลายเป็นบุคลากรที่สำคัญและมีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต่อไปในอนาคต ซึ่งนอกจาก SIPA และ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตแล้ว ยังได้ผู้สนับสนุนยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ตลอดจนองค์กรหลายภาคส่วนมาร่วมสนับสนุนการแข่งขันในครั้งนี้เช่นเดียวกัน

สำหรับ ACM-ICPC ได้แบ่งการจัดการแข่งขันทั่วโลกออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.การจัดการแข่งระดับประเทศ (Local Contest) เป็นการแข่งเพื่อหาตัวแทนหรือเตรียมความพร้อมของทีมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันใน 2.การแข่งขันระดับภูมิภาค (Regional Contest) เป็นการแข่งเพื่อหาตัวแทนจำนวน 100 ทีม มีการแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค โดยในภูมิภาคเอเชียมีการแข่งขัน 15 ประเทศเจ้าภาพ และ 3.การแข่งขันระดับโลก (World Final) จะหาผู้ชนะจากตัวแทนแต่ละภูมิภาคจำนวนประมาณ 100 ทีม (เอเชีย 35 ทีม) เจ้าภาพจะต้องเสนอตัวในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกในการประชุมในการแข่งขัน World Final โดยในปี 2557 จะจัดการแข่งขันขึ้นที่ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 22 มิ.ย.- 26 มิ.ย.57

004

ซึ่งในอีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2558 ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันในรอบ World Final โดยนายอุดมผล พืชน์ไพบูลย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เปิดเผยว่าทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมอย่างยิ่งทั้งการคมนาคมขนส่ง สภาพแวดล้อม สถานที่จัดการแข่งขัน รวมไปถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมติดอันดับโลกที่จะสร้างความประทับให้กับผู้เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วโลกได้อย่างแน่นอน

และการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ACM-ICPC ในรอบ World Final ยังส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตทั้งในด้านแผนพัฒนาเมืองภูเก็ต, การสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับจังหวัดภูเก็ตและประเทศไทยอีกด้วย

นอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติจาก สตีเฟน ฮาลิม (Steven Halim) โค้ชของทีมมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ซึ่งเขาให้สัมภาษณ์ว่า “ตัวเขาเริ่มเป็นโค้ชมาตั้งแต่ปี 2008 และนำทีมจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เข้ารอบ Global Round หลายครั้ง ซึ่งสิ่งสำคัญในการชิงชัยเหนือคู่แข่งในการแข่งขันครั้งนี้คือ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และพยายามคัดเลือกลูกทีมที่มีศักยภาพให้ได้ โดยต้องวางแผนล่วงหน้ากันเป็นปีๆ และในการฝึกหัดทำโจทย์แต่ละครั้ง เราต้องพยายามตั้งโจทย์ที่ดึงเอาศักยภาพของเด็กออกมาให้ได้มากที่สุด”

เมื่อถามถึงความคาดหวังในครั้งนี้ โค้ชของทีม NUS ยังเปิดเผยว่าอยากให้ทีมในสังกัตของเขาทั้ง 2 ทีมติดอันดับ 7 ทีมแรก เพื่อที่จะได้เข้าไปแข่งขันในรอบระดับโลก โดยมีทีมหนึ่งเข้ารอบไปแล้ว และอยากให้อีกทีมได้เข้ารอบตามไปอีกด้วย

ทั้งนี้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทีมผู้เข้าแข่งขันจากประเทศจีนถึง 3 ทีม โดยทีมแรกกล่าวถึงการแข่งขันในครั้งนี้ว่า

“การแข่งขันเขียน ซอร์ฟแวร์ในเอเซียนั้นไม่ได้เน้น ที่การเขียนโปแกรมเป็นหลักเท่านั้น แต่คือการแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่เท่าเทียมกันของผู้ร่วมแข่งขันทุกๆ ทีม  และนอกจากนี้ วิธีการแข่งขันประกวดการเขียน ซอร์ฟแวร์ในเอเซีย ที่จัดขึ้นนี้ ทำให้ผู้ร่วมแข่งขันจาก จีน ไทย เวียดนาม ฮ่องกง และจากประเทศต่างๆ รู้จักกัน และยังเป็นการสร้างมิตรภาพระหว่างกันอีกด้วย”

ส่วนทีมที่ 2 เผยว่า “ทีมเราเตรียมตัวมาเป็นเวลานานกว่าครึ่งปี สำหรับการแข่งขันระดับภูมิภาคเช่นการแข่งขันครั้งนี้ ทีมของรัสเซียเป็นตัวเต็งในการแข่งขันนี้ ซึ่งทีมเราเตรียมตัวสำหรับงานนี้อย่างรัดกลุม และหนักมากเพื่อความพร้อมในเรื่องต่างๆเรารวมถึงการแก้ไขปัญหาและหาโซลูชั่น โดยมีทีมอาจารย์ให้คำปรึกษา”

และทีมที่ 3 ระบุว่า “ผมรู้สึกยินดีที่ได้มาแข่งขันโครงการนี้ และสนุกที่ได้รวมทีมกับเพื่อนๆมาแข่งที่ภูเก็ต ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วเป็นประสบการณ์ที่ดี และยังเป็นการเพิ่มสักยภาพ พัฒนาตัวเองในการเขียนโปแกรม รวมทั้งยังมีเพื่อนเพิ่มมากขึ้นด้วย”

1 COMMENT

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here