รีวิว : TP-LINK Archer MR200 Wireless Router สองร่าง (3G/4G + Wan)

TP-LINK Archer MR200 (AC750 Wireless Dual Band 4G LTE Router) เป็น Wireless Router รุ่นกลางจาก TP-LINK แบรนด์ผู้จำหน่ายอุปกรณ์เน็ตเวิร์คที่พวกเรารู้จักกันดี สำหรับตัว MR200 สามารถรองรับการใส่ Sim Card แบบ 4G LTE ได้ด้วย โดยให้ความเร็วสูงสุดถึง 150 Mbps

IMG_7798

เมื่อก่อน สมัยที่อินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมมาก ตอนนั้นหลายคนจึงนิยมนำ Air Card มาใช้ (เยียวยาจิดใจ) เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยามอยู่ในสถานที่ที่ไม่ค่อยอำนวยอย่าง หอพัก หรือคอนโดบางที่เป็นต้น ปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เกือบทุกที่แล้ว โดยมีสมาร์ทโฟนพร้อมเทคโนโลยี 4G LTE ที่ช่วยยกระดับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปอีก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกลุ่มคนที่นิยมใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ที่บ้านมากกว่า จึงมี Wireless Router รุ่นใหม่ ๆ ออกมาตอบสนองกลุ่มผู้ใช้ดังกล่าวอยู่เนื่อง ๆ แต่แล้วเมื่ออยู่ ๆ สองเทคโนโลยีได้มารวมกัน จึงบังเกิดเป็น Wireless Router + 4G LTE หรือเราเตอร์ที่สามารถใส่ Sim Card แล้วปล่อยสัญญาณเหมือนพวก Air Card หรือ Pocket Wifi ได้เลย แต่ด้วยความที่เป็นเราเตอร์นี้เอง จึงมีจุดเด่นในเรื่องของการกระจายสัญญาณ ที่มีความแรงทะลุทะลวงติดมาด้วย และพระเอกในที่นี้คือ TP-LINK Archer MR200

Archer_MR200_un_V1_1020_normal_1_20150629143057TP-LINK Archer MR200 (AC750 Wireless Dual Band 4G LTE Router) เป็น Wireless Router รุ่นกลางจาก TP-LINK แบรนด์ผู้จำหน่ายอุปกรณ์เน็ตเวิร์คที่พวกเรารู้จักกันดี สำหรับตัว MR200 สามารถรองรับการใส่ Sim Card แบบ 4G LTE ได้ด้วย โดยให้ความเร็วสูงสุดถึง 150 Mbps รองรับทั้ง 3 ค่าย (AIS, DTAC, TRUE) ซึ่งนอกจาก 4G แล้ว 3G กับ 2G ก็รองรับเช่นกัน ทั้งนี้ตัว MR200 ยังสามารถให้สัญญาณ Wi-Fi ด้วยความเร็ว 733Mbps สองความถี่ โดยแบ่งเป็น 300Mbps @ 2.4GHz และ 433Mbps @ 5GHz รวมกัน เรียกได้ว่า สเปกจัดอยู่ในระดับปลานกลาง แต่ด้วยจุดเด่นที่ใส่ Sim Card ได้นี้เอง ดังนั้นในที่นี้ จะขอรีวิวในส่วนนี้เป็นหลักครับ

TP-LINK Archer MR200 (รายละเอียดเต็ม ๆ คลิกที่นี้)

Wireless Standards : IEEE 802.11ac/n/a 5GHz, IEEE 802.11b/g/n 2.4GHz
Frequency : 2.4GHz and 5GHz
Signal Rate : 300Mbps at 2.4GHz, 433Mbps at 5GHz
Wireless Functions : Enable/Disable Wireless Radio, WDS Bridge, WMM, Wireless Statistics
Wireless Security : 64/128-bit WEP, WPA/WPA2, WPA-PSK/WPA2-PSK encryptions
Quality of Service : Trafc Control(IP QoS)
Operating Modes : 3G/4G Router, Wireless Router
Interface : 3 10/100Mbps LAN Ports, 1 10/100Mbps LAN/WAN Port, 1 SIM Card Slot
Button : WPS/Reset Button, Wireless On/Off Button, Power On/Off Button
Antenna : 3 Internal Wi-Fi Antennas, 2 Detachable External 4G LTE Antennas
External Power Supply : 12V/1A
Dimensions ( W x D x H ) : 7.95 x 5.55 x 1.32 in. (202 x 141 x 33.6 mm)

รายละเอียดการรองรับสัญญาณ 2G/3G/4G

4G : FDD-LTE B1/B3/B7/B8/B20 (2100/1800/2600/900/800MHz) TDD-LTE B38/B40 (2600/2300MHz)
3G : DC-HSPA+/HSPA+/HSPA/UMTS B1/B8 (2100/900MHz)
2G : EDGE/GPRS/GSM Quad Band (850/900/1800/1900MHz)

แกะกล่อง

ในไม่มีอะไรมาก มีเพียงตัวเครื่อง, เสา 2 ต้น, ถาดใส่ Sim Card, Adapter และคู่มือเท่านั้น (กล่องขายจริงจะมีสาย LAN แถมให้อีก 2 สาย)

การออกแบบ

P60701-175911

หน้าตาจัดว่าเรียบ ๆ แต่พอเป็นโทนดำเงาเกือบทั้งเครื่อง ก็เพิ่มความหรูหราได้พอควร

IMG_7780

ตัวเครื่อง Archer MR200 นั้น จะมีการซ่อนเสาสัญญาณ WiFi หรือ Wireless Lan ไว้ภายใน ส่วนเสาสัญญานสองต้นที่เห็นอยู่นี้ เป็นเสากระจายคลื่นความถี่ 2.4 และ 5Ghz จาก Sim Card หรือเครือข่าย 4G/3G นั้นเอง

IMG_7776

ด้านล่างตัวเครื่อง ถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งกับผนังในลักษณะแขวนได้

IMG_7778

ส่วนช่องระบายความร้อน จะซ่อนอยู่รอบ ๆ ตัวเครื่อง ทำให้สังเกตุยากนิดหน่อย แต่ก็เป็นข้อดีที่ทำให้เครื่องดูสวยขึ้น

IMG_7775

ด้านหลังตัวเครื่องก็มีปุ่ม WPS/Reset Button, Wireless On/Off Button, Power On/Off Button ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อก็มี ช่อง LAN 10/100Mbps 3 slot, ช่อง LAN/WAN 10/100Mbps 1 slot และช่องเสียบ Sim Card 1 slot

หน้าตาถาดใส่ Sim Card ครับ สามารถรองรับได้รับ Micro Sim, Nano Sim และ Normal Sim โดยตัวถาดจะมีชุดสติ๊กเกอร์สำหรับยึด Sim Card มาให้ด้วย ซึ่งในการทดสอบต่อไปนี้ ผมจะใช้ซิมของ True พร้อมสมัครบริการ 4G 100M 3GB เป้นตัวทดสอบครับ

หน้าตั้งค่า

01

ตามธรรมเนียมครั้งแรก ก่อนเข้าหน้าตั้งค่าหรือหน้าคอนฟิก ตัวเราเตอร์จะให้ตั้งรหัสกันก่อน โดยสำหรับรุ่นนี้ เราสามารถเข้าหน้าตั้งค่าได้ที่ลิงค์ tplinkmodem.net

03

หลังตั้งรหัสเรียบร้อย ก็จะเข้าสู่หน้าตั้งค่า Basic หรือตั้งค่าแบบพื้นฐาน แน่นอนว่าใครที่เป็นมือใหม่ ไม่เชี่ยวชาญด้านเน็ตเวิร์คมากนัก ควรยุ่งอยู่กับหน้านี้ดีกว่า ส่วนใครที่เชี่ยวชาญแล้ว ก็จะมีหน้าตั้งค่าแบบโปรให้เหมือนกัน แต่มาดูที่หน้า Basic นี้ก่อน ในหน้านี้ก็จะบอกสถานะต่าง ๆ ของระบบ เช่น อุปกรณ์ที่กำลังเชื่อมต่อ เปิดสัญญาณอะไร มีข้อความไหม อินเทอร์เน็ตกำลังเชื่อมต่อหรือเปล่า ซึ่งตัว MR200 ก็ทำหน้านี้ให้ดูสะอาดทีเดียวครับ มือใหม่ไม่น่างง

04

ถัดจากหน้า Basic ก็มีหน้า Quick Setup สำหรับใครที่อยากตั้งค่าสัญญาณ Wi-Fi แบบเบื้องต้นก็ทำได้เลยในหน้านี้

07

กลับมาที่หน้า Basic กันต่อ เกือบลืมบอกว่า ในเราเตอร์สมัยใหม่ เดี๋ยวนี้แทบไม่ต้องเข้าหน้าตั้งค่าแบบนี้แล้ว (นอกจากมาตั้งรหัสอะไรให้เรียบร้อยก่อน) เพราะทุกอย่างมันจะจัดการให้อัตโนมัติ อย่างตัว MR200 นี้ก็ไม่เว้น ทันทีที่ผมเสียบ Sim Card หลังเครื่อง ก็ใช้งานได้ทันมี ต่ออินเทอร์เน็ตได้เลย โดยที่ไม่ต้องมาเข้าหน้าตั้งค่านี้แต่อย่างใด แต่ควรมาตั้งรหัสไว้ก็ดีครับ จะได้ไม่เสี่ยงโดนเพื่อนบ้านแฮก (หรือเดา) รหัสได้ แล้วแอบใช้เน็ตเราเนียน ๆ

08

สำหรับในหน้าตั้งค่า Basic นอกจากหน้าบบอกสถานะ ก็ยังมีส่วนตั้งค่าพื้นฐานมาให้พร้อม อาทิ แก้ไขหน้าโปรไฟล์ในการเชื่อมต่อ

09

ตั้งค่า Wi-Fi ทั้งความถี่ 2.4GHz กับ 5GHz

10

เปิด Guest Network กันไม่ให้ใครมายุ่มย่ามกับระบบเรา เช่นมีเพื่อนมาบ้าน ก็ให้เขาใช้แค่ส่วนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวพอ ระบบไม่ต้อง แน่นอนว่า MR200 ทำได้

11

ในหน้านี้ ถือเป็นของดีสำหรับใครที่เป็นพ่อแม่ แล้วอยากควบคุมพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของลูก ตัว MR200 ก็มีโหมด Parental Comtrols จำกัดสิทธิใช้งาน ตั้งค่าจำกัดเวลาเล่นเน็ต จำกัดเว็บที่ไม่ให้เข้า เป็นต้น

12

และสำหรับใครที่มีความเชี่ยญชาญในด้านเน็ตเวิร์ค เป็นผู้ดูแลระบบอยู่แล้ว ก็ขยับขั้นมาตั้งค่าแบบโปรได้ที่หน้า Advanced ก็จะมีส่วนตั้งค่าที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น

14

แต่ถ้าใครพอเป็นเน็ตเวิร์คอยู่บ้าง ก็ลองมาดูหน้าตั้งค่าที่สำคัญในนี้ดูหน่อยก็ดี อย่าง Data Settings จำกัดการใช้ Data หรือข้อมูลใน Sim Card ซึ่งถือเป็นส่วนที่ควรคำนึกถึง เนื่องจากมันไม่เหมือนอินเทอร์เน็ตจาก ADSL ที่ใช้ได้ไม่จำกัด แต่ถ้าเป็นบริการ 3G/4G ก็อย่าลืมมาส่องจำนวน Data ที่ใช้ไปแล้วด้วย ถ้ากลัวหมดไว ก็มาตั้งจำกัดการใช้ก่อน จะได้ไม่เสียดายภายหลัง

13

อย่าลืมว่า MR200 เป็นเราเตอร์ที่ออกแบบสำหรับกระจายสัญญาณจาก Sim Card ดังนั้น หน้าตั้งค่าจึงมีลักษณะเหมือนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์พกพาอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้ถ้าเราต้องการให้มันเป็นตัวกระจายสัญญาณ Wan จาก Modem อีกที เราก็สามารถตั้งค่าให้มันเป็น Wireless Router More ในหน้า Operation Mode ได้เช่นกัน

ทดสอบประสิทธิภาพ

26

ลองทดสอบการรับ-ส่งข้อมูลที่ 5GB ความเร็วตามภาพเลยครับ

24 (ใกล้)

ลองเทสความแรงของสัญญาณ รอบแรกลองเทสโดยให้ตัว MR200 อยู่ใกล้กับโน็ตบุ๊คที่ใช้ทดสอบรับสัญญาณ ก็พบว่า สัญญาณมีความเสถียรทีเดียว โดยเฉพาะคลื่นความถี่ 5GHz ที่ไม่มีอะไรมารบกวนเลย

25 (ไกล)

แต่พอลองออกห่างไปอีก 3 ห้อง กันด้วยประตูอีก 3 บาน ก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง พบว่าสัญญาณมีการดรอปลงตามภาพ แต่กระนั้นก็ต้องยอมรับว่า สัญญาณของ MR200 มีอำนาจทะลุทะลวงดีทีเดียวครับ

สรุป

IMG_7785

จากที่ลองใช้งานตัว TP-LINK Archer MR200 ไปเรียบร้อย สิ่งที่พบเลยคือ ความสามารถในการกระจายสัญญาญ 4G นับว่าดีทีเดียว การดาวน์โหลดไฟล์ก็เร็วพอควร และที่สำคัญ มันรองรับทั้ง 2G และ 3G ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าด้วย จึงเรียกได้ว่า ใครที่อยู่บ้านหรือหอ ที่ไม่สะดวกต่อสัญญาณจาก ADSL มีแต่ Sim Card (หรือที่ใช้ได้แค่สัญญาณ 2G/3G เท่านั้น) ตัว MR200 นับว่าตอบโจทย์ ทั้งนี้ตัวมันยังเหมาะกับผู้ใช้เริ่มต้น เพราะแทบไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้วุ่นวาย เสียบ Sim Card เสร็จ ก็ใช้ได้เลย หรือต่อ WAN จาก Modem ก็ใช้ได้เลยอีกเช่นกัน ส่วนฟีเจอร์ต่าง ๆ ก็มีพร้อมสรรพ โดยการตั้งค่าแบบโปร ก็มีให้เลือกอย่างเหลือเฟือ ไม่น้อยหน้าพวกเราเตอร์รุ่นใหญ่กันเลยครับ

ข้อสังเกตุ

  • ไม่มีช่องเสียบ USB หรือ Micro SD Card
ราคาของ TP-LINK Archer MR200 อยู่ที่ 4,790 บาท