เกือบใจหาย เมื่อยานสำรวจดาวพลูโต New Horizons เกิดเหตุขัดข้องไปชั่วขณะ

เกือบเป็นข่าวร้ายจาก NASA ไปซะแล้ว เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม New Horizons หรือยานสำรวจดาวพลูโต เกิดเหตุขัดข้องไปชั่วขณะ ไม่สามารถติดต่อกลับมายังโลกได้ สร้างความช๊อกไปให้กับทีมงานไปไม่น้อย แต่ล่าสุดก็สามารถกู้สถานการณ์ได้แล้ว เหลือเพียงความสงสัยว่า สิ่งที่มารบกวนการส่งสัญณาณนั้นคืออะไร !!?

NASA Pu
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเมื่ออยู่ยานสำรวจไร้คนขับ New Horizons  ที่มีภารกิจไปสำรวจวิเคราะห์ดาวพลูโตและแถบไคเปอร์นี้ เกิดขาดการติดต่อไปชั่วขณะในระหว่างเดินทาง จากเหตุครั้งนั้นก็สร้าง
ความอลหม่านให้กับทาง NASA อยู่ไม่น้อย เพราะในช่วงที่ขาดการติดต่อนั้น แม้ว่าจะได้รับการยืนยันว่า ตัวยานยังอยู่ดี และยังคงบินไปยังดาวเคราะห์แคระที่ว่านี้ แต่ก็บินไปแบบตาบอด เพราะในระหว่างนั้นตัวยานไม่สามารถใช้เครื่องมือสำหรับสำรวจใดๆได้เลย ซึ่งอาจส่งผลทำให้ภารกิจยาวนานถึง 10 ปีนี้ สูญเปล่าแน่นอน แต่ล่าสุดผ่านไปได้สองวัน ก็มีรายงานเพิ่มเติมว่า ทีมงานสามารถกู้สถานการณ์คืนได้แล้ว และทำการปฏิบัติภารกิจตามเดิม

new_horizons_1 หน้าตาของยาน New Horizons

นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่หน้าหวาดเสียวจริงๆ เมื่ออยู่ดีๆยาน New Horizons ลำนี้ เกิดไม่สามารถติดต่อติดต่อกลับได้ไปช่วงหนึ่ง ซึ่งก็ยังบอกสาเหตุไม่ได้ด้วยว่า มันเกิดจากอะไร จนถึงขนาดมีบางคนบอกเลยว่า อาจมี “บางสิ่งบางอย่าง” มา
รบกวนการส่งสัญญาณในขณะนั้นด้วย ยังไงก็ตาม ทางทีมงานก็ยันยืนว่า ตัวยานไม่ได้เกิดความเสียหายใดๆ ฉะนั้น ความผิดปกตินี้ไม่ได้มาจากตัวยานชัวร์ แต่ในระหว่างที่ยานอยู่ห่างจากโลกถึง 4.9 ล้านกิโลเมตร การส่งสัญญาณแต่ละทีก็ต้องใช้เวลาถึง 4.5 ชั่วโมง จึงยากที่จะเดาว่า มันเกิดจากอะไรกันแน่ ก็ต้องมาลุ้นกันอีกว่า จะเกิดความผิดปกติแบบนี้อีกหรือไม่ เพราะในระหว่างที่ขาดการติดต่อไปนั้น ทาง NASA จะได้ไม่รับข้อมูลอะไรเลย และถ้าเกิดมันดันแจ็กพอตตอนถึงดาวพลูโตแล้ว ไม่อยากจะนึกเลยครับ

new-horizon-nasa

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของยาน New Horizons  ลำนี้ ก็จะขอเท้าความซักเล็กน้อย เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2549 ยานสำรวจลำนี้ ได้บินออกจากฐานปล่อยจรวดที่แหลมคานาเวอรัลในวันนั้น โดยมีภารกิจคือ เพื่อไปสำรวจดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ที่อยู่ห่างจากโลกถึง 5,925,000,000 กิโลเมตร นั้นก็คือ ดาวพลูโตนั้นเอง ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้ เราได้รับรู้จริงๆว่า พื้นผิวของดาวพลูโตเป็นอย่างไร มีข้อมูลอะไรที่ผิดไปจากเดิมไหม และที่สำคัญ จะมีสิ่งมีชีวิตด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ภารกิจดังกล่าว จะกินเวลานานถึง 10 ปี โดยมีการคาดเดาว่าตัวยานจะถึงตัวดาวเมื่อปี 2558 ซึ่งล่าสุด ก็ระบุได้แล้วว่า จะถึงจริงๆก็เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมนี้แล้วด้วย สำหรับโครงการดังกล่าวก็เป็นความร่วมมือระหว่าง NASA กับมหาวิทยาลัย John Hopkins ที่ร่วมกันสร้างยานสำรวจลำนี้ขึ้นมานั้นเอง

nh-7-3-15_color_rotation_movie_nasa-jhuapl-swri

ผลงานล่าสุด ของยานสำรวจ New Horizons ลำนี้ หลังจากได้ถ่ายภาพสีของดาวพลูโตเป็นครั้งแรกไปแล้ว ต่อมาก็ได้ถ่ายภาพสีที่ชัดเจนกว่าเดิมอีกครั้ง โดยครั้งนี้ เราได้เห็นทั้งดาวเคราะห์พลูโต และดวงจันทร์บริการอย่าง Charon อีกด้วย ซึ่งก็พบว่า ดาวพลูโตนั้นกลับมีสีน้ำตาลอมแดง ในขณะที่ดาว Charon มีสีเทา ก็นับเป็นเรื่องแปลกเล็กน้อย สำหรับสีของทั้งสองดวงดาวนี้ แน่นอนว่า ถ้าอยากเห็นแบบชัดๆยิ่งกว่านี้ ก็ต้องมารอดูกันในวันที่ 14 ก.ค นี้ ซึ่งถือเป็นวันประวัติ
ศาสตร์ ที่ชาวโลกทุกคน จะได้ไกล้ชิดดวงดาวที่อยู่ไกลสุดกู่ดวงนี้เป็นครั้งแรกกันแล้ว หวังว่าในตอนนั้น จะไม่เกิดสัญญาณขัดข้องนะครับ…

อยากเช็คตำแหน่งของยาน New-Horizon สามารถดูได้ ที่นี้

ที่มา : NASภาพ : FromquarkstoquasarsChris Krupiarz

2 COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here